ยามเมื่อเผชิญศึก
เท็จลวงกับจริงแท้
พึงใช้สอดแทรกซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อน
ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ

ลวง ใช่ลวง จริงอยู่ในลวง มืดน้อย มืดมาก ก็สว่าง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก
แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง
ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ ลวง” ก็คือ “ หลอกลวง" ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปจนถึงมืดมาก จากมืดมาก แปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือ
ใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นจริงแท้ นี่เป็นเรื่องในการศึก
เท็จลวงและจริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง “มีในไม่มี” หมายถึงกลอุบายซึ่ง “จริงในเท็จ” ที่ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก ให้ข้าศึกเกิดความหลงผิดอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามชื่อ “อุ้ยเหลียวจื่อ อำนาจศึก” ซึ่งกล่าวว่า “อำนาจศึกอยู่ที่วิถีอันทำได้ ผู้มีจักไม่มี ผู้ไม่มีจักมี ” ในบทที่ ๓๔ ของ “คัมภีร์เหลาจื่อเล่มหลัง” ก็กล่าวไว้ว่า “สรรพสิ่งใต้หล้าเกิดจากมี บ้างก็เกิดจากไม่มี”
ใน “ จดหมายเหตุราชวงศ์ถังใหม่ ประวัติจางสุน” มีเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้ ในศักราชเทียนเป่าที่ ๑๔ ในรัชสมัยพระเจ้าถึงเสียนจงฮ่องเต้ ( พ.ศ.๑๒๙๘ ) อันลู่ซานกับสือซือหมิง ขุนทัพผู้คุม.........
ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์นี้คือ เรื่องการสร้างสงคราม อิรัก – อิหร่าน โดยสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดี โรนัล รีแกน แห่งสหรัฐอเมริกาเข้ารับตำแหน่ง เป็นห้วงระยะเวลาที่ ประเทศสหรัฐอเมริกายังคงประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่สหรัฐฯ ต้องทำสงครามอันยาวนานกับเวียดนามในช่วงสงครามเย็น การพ่ายแพ้อย่างหมดรูปทางทหาร และการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นำมาซึ่งความอัปยศให้แก่เกียรติภูมิด้านการทหาร และด้านการเมืองของสหรัฐฯ และนำมาซึ่งความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของประชาคมโลกต่อสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา สิ่งที่ผลของสงครามเวียดนามได้ทิ้งไว้เป็นการเตือนความทรงจำที่สหรัฐฯ ไม่อาจลืมเลือนไปได้โดยง่ายก็คือผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลของ สหรัฐฯ ยอมรับ กับประชาคมโลก และอเมริกันชน ว่า ผลกระทบของสงครามเวียดนามทำให้สหรัฐฯ ได้รับความบอบช้ำทางด้านเศรษฐกิจที่มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และก็เป็นเรื่องจริง ผลอันนั้นทำให้สหรัฐฯ ต้องใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ต้องใช้เวลานานถึง ๑๐ ปีเศษ ยิ่งในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลรีแกนด้วยแล้ว จากการบีบคั้นของทุกฝ่ายทำให้ประธานาธิบดีรีแกนต้องรีบเร่งในการแก้ปัญหานี้ แนวทางของประธานาธิบดีของประธานาธิบดีรีแกนในการแก้ปัญหาของประเทศ มักจะมีความโน้มเอียงไปทางด้านการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา กิจกรรมในการสร้างสงคราม ทั้งสงครามตามแบบและสงครามไม่ตามแบบจึงเกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดี รีแกน เป็นจำนวนมาก ประกอบกับในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของ รีแกน นั้นได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มอุตสาหกรรมด้านอาวุธเป็นจำนวนมากด้วย กลุ่มอุสาหกรรมดังกล่าวจึงต้องพยายาม ผลักดันให้ รีแกน สร้างสงครามเพื่อที่จะให้มีกิจกรรมในการสนับสนุนธุรกิจด้านการค้าอาวุธของกลุ่มตน จากแรงผลักดันหลายประการดังกล่าวแล้ว คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ เอง และการผลักดันของกลุ่มผู้สนับสนุน เงินทุนให้กับ รีแกนเอง ทำให้ รีแกนจำเป็นต้องตัดสินใจ ในการสร้างสงครามขึ้น โดยกลุ่มนักวางแผนได้ใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ “ กลยุทธ์มีในไม่มี”
ใน ๓๖ กลยุทธ์ดังนี้คือการสร้างสิ่งที่ไม่มีตัวตนให้มีตัวตนขึ้นมาให้ได้เพื่อเป็นสาเหตุของการสร้างสงคราม ในการบรรลุเป้าหมายของตน รีแกน ได้สั่งให้กลุ่มผู้สร้างสถานการณ์ยิงเครื่องบินพาณิชย์ของเกาหลีใต้
โดยในเวลาต่อมาได้ผลักความรับผิดชอบให้กับผู้ก่อการร้ายชาวอิหร่านเป็นแพะรับบาปไป เพื่อที่จะอ้างความชอบธรรมในการผลักดันให้อิรัก ซึ่งเป็นพันธมิตรอันใกล้ชิดแน่นแฟ้นของสหรัฐฯ ทำสงครามกับอิหร่านในสมัยหลังการปฏิวัติของโคไมนี ( หลักฐานการยิงเครื่องบินพาณิชย์ของเกาหลีใต้ และมีผู้โดยสารเสียชีวิตจำนวนมากดังกล่าวเป็น วีดีโอ การยิงจรวดจากเรือรบของสหรัฐฯ ที่มองเห็นจากภาพได้ชัดเจนแล้วผู้ยิงยังได้นำภาพถ่ายเป็นวีดีโอดังกล่าวมาเป็นหลักฐานผลการปฏิบัติงาน เพื่อรับเงินค่าตอบแทนเรียบร้อยแล้ว หลักฐานอันนั้นยังสามารถที่จะแสดงให้สาธารณชนได้รับทราบกัน ได้ทุกเมื่อ ) หลังจากที่สร้างสถานการณ์เสร็จแล้วสหรัฐฯ ก็สนับสนุนให้อิรักประกาศสงครามกับอิหร่าน เมื่อปี ๒๕๒๓ ซึ่งสงครามดำเนินไปถึงปี ๒๕๓๑ ซึ่งการสร้างสงครามดังกล่าว ได้อ้างเอาเหตุผลจากหลักฐาน ที่เดิมไม่ได้มีความเป็นจริงแต่ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาเอง คือไม่มีก็ต้องสร้างให้มีขึ้นมาได้ แล้วการสร้างสงครามก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามกลยุทธ์ที่ดังกล่าวแล้ว “ มีในไม่มี” หรือ “ ไม่มีในมี”
กลยุทธ์นี้จึงมีผู้สรุปว่า
“ เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงสลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต”.
กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามชื่อ “อุ้ยเหลียวจื่อ อำนาจศึก” ซึ่งกล่าวว่า “อำนาจศึกอยู่ที่วิถีอันทำได้ ผู้มีจักไม่มี ผู้ไม่มีจักมี ” ในบทที่ ๓๔ ของ “คัมภีร์เหลาจื่อเล่มหลัง” ก็กล่าวไว้ว่า “สรรพสิ่งใต้หล้าเกิดจากมี บ้างก็เกิดจากไม่มี”
ใน “ จดหมายเหตุราชวงศ์ถังใหม่ ประวัติจางสุน” มีเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้ ในศักราชเทียนเป่าที่ ๑๔ ในรัชสมัยพระเจ้าถึงเสียนจงฮ่องเต้ ( พ.ศ.๑๒๙๘ ) อันลู่ซานกับสือซือหมิง ขุนทัพผู้คุม.........
ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์นี้คือ เรื่องการสร้างสงคราม อิรัก – อิหร่าน โดยสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดี โรนัล รีแกน แห่งสหรัฐอเมริกาเข้ารับตำแหน่ง เป็นห้วงระยะเวลาที่ ประเทศสหรัฐอเมริกายังคงประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่สหรัฐฯ ต้องทำสงครามอันยาวนานกับเวียดนามในช่วงสงครามเย็น การพ่ายแพ้อย่างหมดรูปทางทหาร และการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นำมาซึ่งความอัปยศให้แก่เกียรติภูมิด้านการทหาร และด้านการเมืองของสหรัฐฯ และนำมาซึ่งความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของประชาคมโลกต่อสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา สิ่งที่ผลของสงครามเวียดนามได้ทิ้งไว้เป็นการเตือนความทรงจำที่สหรัฐฯ ไม่อาจลืมเลือนไปได้โดยง่ายก็คือผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลของ สหรัฐฯ ยอมรับ กับประชาคมโลก และอเมริกันชน ว่า ผลกระทบของสงครามเวียดนามทำให้สหรัฐฯ ได้รับความบอบช้ำทางด้านเศรษฐกิจที่มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และก็เป็นเรื่องจริง ผลอันนั้นทำให้สหรัฐฯ ต้องใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ต้องใช้เวลานานถึง ๑๐ ปีเศษ ยิ่งในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลรีแกนด้วยแล้ว จากการบีบคั้นของทุกฝ่ายทำให้ประธานาธิบดีรีแกนต้องรีบเร่งในการแก้ปัญหานี้ แนวทางของประธานาธิบดีของประธานาธิบดีรีแกนในการแก้ปัญหาของประเทศ มักจะมีความโน้มเอียงไปทางด้านการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา กิจกรรมในการสร้างสงคราม ทั้งสงครามตามแบบและสงครามไม่ตามแบบจึงเกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดี รีแกน เป็นจำนวนมาก ประกอบกับในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของ รีแกน นั้นได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มอุตสาหกรรมด้านอาวุธเป็นจำนวนมากด้วย กลุ่มอุสาหกรรมดังกล่าวจึงต้องพยายาม ผลักดันให้ รีแกน สร้างสงครามเพื่อที่จะให้มีกิจกรรมในการสนับสนุนธุรกิจด้านการค้าอาวุธของกลุ่มตน จากแรงผลักดันหลายประการดังกล่าวแล้ว คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ เอง และการผลักดันของกลุ่มผู้สนับสนุน เงินทุนให้กับ รีแกนเอง ทำให้ รีแกนจำเป็นต้องตัดสินใจ ในการสร้างสงครามขึ้น โดยกลุ่มนักวางแผนได้ใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ “ กลยุทธ์มีในไม่มี”
ใน ๓๖ กลยุทธ์ดังนี้คือการสร้างสิ่งที่ไม่มีตัวตนให้มีตัวตนขึ้นมาให้ได้เพื่อเป็นสาเหตุของการสร้างสงคราม ในการบรรลุเป้าหมายของตน รีแกน ได้สั่งให้กลุ่มผู้สร้างสถานการณ์ยิงเครื่องบินพาณิชย์ของเกาหลีใต้
โดยในเวลาต่อมาได้ผลักความรับผิดชอบให้กับผู้ก่อการร้ายชาวอิหร่านเป็นแพะรับบาปไป เพื่อที่จะอ้างความชอบธรรมในการผลักดันให้อิรัก ซึ่งเป็นพันธมิตรอันใกล้ชิดแน่นแฟ้นของสหรัฐฯ ทำสงครามกับอิหร่านในสมัยหลังการปฏิวัติของโคไมนี ( หลักฐานการยิงเครื่องบินพาณิชย์ของเกาหลีใต้ และมีผู้โดยสารเสียชีวิตจำนวนมากดังกล่าวเป็น วีดีโอ การยิงจรวดจากเรือรบของสหรัฐฯ ที่มองเห็นจากภาพได้ชัดเจนแล้วผู้ยิงยังได้นำภาพถ่ายเป็นวีดีโอดังกล่าวมาเป็นหลักฐานผลการปฏิบัติงาน เพื่อรับเงินค่าตอบแทนเรียบร้อยแล้ว หลักฐานอันนั้นยังสามารถที่จะแสดงให้สาธารณชนได้รับทราบกัน ได้ทุกเมื่อ ) หลังจากที่สร้างสถานการณ์เสร็จแล้วสหรัฐฯ ก็สนับสนุนให้อิรักประกาศสงครามกับอิหร่าน เมื่อปี ๒๕๒๓ ซึ่งสงครามดำเนินไปถึงปี ๒๕๓๑ ซึ่งการสร้างสงครามดังกล่าว ได้อ้างเอาเหตุผลจากหลักฐาน ที่เดิมไม่ได้มีความเป็นจริงแต่ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาเอง คือไม่มีก็ต้องสร้างให้มีขึ้นมาได้ แล้วการสร้างสงครามก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามกลยุทธ์ที่ดังกล่าวแล้ว “ มีในไม่มี” หรือ “ ไม่มีในมี”
กลยุทธ์นี้จึงมีผู้สรุปว่า
“ เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงสลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต”.
Source : http://porgorn0009.blogspot.my/2012/05/blog-post_2970.html?view=magazine
No comments:
Post a Comment